พักแข่งขันฟุตบอลทีมชาติ ผลดี หรือผลเสียสำหรับสโมสร?

ใน การแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสร แต่ละฤดูกาลแข่งขันจะไม่มีการแข่งขันกันแบบรวดเดียวโดยไม่มีการพักเบรกหรือขั้นเวลาด้วยโปรแกรมการแข่งขันระดับทีมชาติอยู่แล้ว และก็แน่นอนว่าพอเวลาพักเบรกทีมชาติ หรือที่เราเรียกกันว่าการพักหลีกทางให้การแข่งขันระดับทีมชาตินั้น โปรแกรมการแข่งขันปกติของสโมสรต่างๆก็จะหยุดชะงักลงจากที่เตะกันทุกสัปดาห์ สัปดาห์ 2-3 แมท ก็อาจเป็นว่าสัปดาห์นั้นๆไม่มีโปรแกรมการลงเตะเลย ซึ่งมันก็เหมือนกับว่าการแข่งขันนั้นขาดตอน ไม่ปะติดปะต่อกัน

ดังนั้นมีคำถามอยู่แล้วล่ะครับว่ามันมีผลดี หรือผลเสียสำหรับทีมสโมสรต่างๆ และคำตอบก็เป็นว่ามีทั้งผลดี และผลเสียขึ้นอยู่กับสภาพสโมสร และสถานะสโมสร อย่างแรก “สภาพสโมสร” ก็หมายถึงว่าในสโมสรนั้นๆมีนักเตะที่ติดทีมชาติอยู่มากไหม หากว่าในทีมมีนักเตะที่ติดทีมชาติอยู่มากก็เป็นผลเสียแน่นอน เพราะสโมสรก็ต้องปล่อยนักเตะไปซ้อมไปแข่งกับทีมชาติในจำนวนมาก ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการฝึกซ้อมภายในสโมสร มีผลกระทบต่อสภาพร่างกายเวลาที่นักเตะกลับมาเล่นให้สโมสร เช่น ร่างกายอาจต้องใช้เวลาในการเรียกความฟิต หรืออาจบาดเจ็บกลับมา แต่ถ้ากับสโมสรที่นักเตะในทีมไม่ค่อยมีที่ติดทีมชาติอย่างนี้ก็จะเป็นผลดี เพราะนักเตะในทีมจะได้พักเยอะกว่าปกติ ร่างกายก็จะฟิตสมบูรณ์กว่า ส่วน “สถานะทีม” ก็หมายถึงว่า ณ ตอนนั้นทีมนั้นๆอยู่ในสถานะใด

เช่น ฟอร์มของทีมดีอยู่ไหม ชนะมารวดเลยหรือเปล่า หากเป็นแบบนี้คือฟอร์มของทีมกำลังดี ชนะรวดมาหลายๆนัดติดต่อกัน หรือไม่แพ้ใครมาหลายนัดติดต่อกัน เวลาโดนโปรแกรมทีมชาติเข้ามาขั้นก็อาจกลายเป็นว่าฟอร์มสะดุด ฟอร์มตกได้เลย ด้วยธรรมชาติของฟุตบอลหากว่าทีมไหนฟอร์มกำลังดีก็จะดีไปอย่างนั้นเรื่อยๆหากได้ลงแข่งต่อเนื่อง แต่ถ้าโดนขั้นเวลา โดนเบรกการแข่งขันก็ตามที่บอกเลยครับ ส่วนตรงกันข้ามถ้าทีมไหนกำลังฟอร์มแย่แล้วมาโดนขั้นด้วยโปรแกรมทีมชาติ ก็ถือเป็นโอกาสดีเลยที่จะทำให้ทีมพักตั้งหลักแล้วกลับมาเรียกฟอร์มเก่งคืนได้

Comments are closed.